วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

SOLAR FARM

บริษัทบางกอก โซลาร์ เพาเวอร์ จำกัด ผู้ให้บริการติดตั้งและผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เห็นโอกาสสร้างรายได้ให้กับธุรกิจตั้งแต่เมื่อ 6 ปีที่แล้ว หลังจากเห็นแนวโน้มของโลกหันมาใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทนมากขึ้น

รัฐบาลมีนโยบายว่าในปี 2556 ต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น 500 เมกะวัตต์ แม้ว่าบริษัทเอกชนหลายแห่งจะรู้ข้อมูลนี้และยื่นขอเป็นผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าถึง 3 พันราย และได้รับอนุมัติให้ผลิต 1 พันกว่ารายก็ตามที ทว่ายังมีผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนได้จริงเพียงไม่กี่รายเท่านั้น

บริษัทบางกอก โซลาร์ เพาเวอร์ เลือกผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพราะประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน ที่ตั้งภูมิศาสตร์รับแดดตลอดทั้งปี ประการสำคัญไม่มีต้นทุนวัตถุดิบ คือแสงอาทิตย์

แต่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จะมีต้นทุนการเช่าหรือซื้อพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น ปริมาณกระแสไฟฟ้าผลิตได้ 1 เมกะวัตต์ จะใช้พื้นที่ 25 ไร่ เพื่อติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ 20,000 แผง และใช้เงินทุนเริ่มต้นราว 100 ล้านบาท การใช้พื้นที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่จึงเรียกว่า "โซลาร์ฟาร์ม"

ปัจจุบันบริษัทจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคประมาณ 7.2 เมกะวัตต์ จากโซลาร์ฟาร์มทั้งหมด 6 แห่งในต่างจังหวัด

โซลาร์ฟาร์มทั้ง 6 แห่ง อยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นโรงงานแห่งแรกผลิตไฟฟ้า 1.49 เมกะวัตต์ จังหวัดอุดรธานี 1 ผลิต 285 กิโลวัตต์ จังหวัดอุดรธานี 2 ผลิต 1.5 เมกะวัตต์ อ่างทอง 1 ผลิต 1 เมกะวัตต์ จังหวัดเพชรบุรี ผลิต 2.1 เมกะวัตต์ และนครสวรรค์ 0.5 เมกะวัตต์

ในปีนี้คาดว่าจะเพิ่มการผลิตไฟฟ้าอีก 14 เมกะวัตต์ หรือติดตั้งโซลาร์ฟาร์มเพิ่มขึ้น 3 แห่ง คือจังหวัดนครราชสีมา ผลิตไฟฟ้า 1.1 เมกะวัตต์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลิตไฟฟ้า 1.5 เมกะวัตต์ และจังหวัดลพบุรี ผลิตกระแสไฟฟ้า 11 เมกะวัตต์

การผลิตไฟฟ้าของบริษัทจะเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก หรือเรียกว่า Very Small Power Plant: VSPP เป็นการผลิตไฟฟ้าไม่เกิน 10 เมกะวัตต์

กฤษฏา จงไพบูลย์พัฒนะ รองประธานฝ่ายการตลาดและการขาย บริษัทบางกอก โซลาร์ เพาเวอร์ บอกเหตุผลกับ ผู้จัดการ 360 ํ ว่าการที่เลือกผลิตไฟฟ้าในรูปแบบ VSPP โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เพราะรัฐสนับสนุนเพิ่มรายได้ (adder) ให้อีก 8 บาทต่อ 1 หน่วย หมายความว่าบริษัทสามารถขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ในราคา 11 บาทต่อหน่วย ซึ่งรัฐจะสนับสนุนเป็นระยะเวลา 10 ปี

บริษัทบางกอก โซลาร์ เพาเวอร์ นอกจากจะเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าแล้วยังได้ผันตัวเองมาเป็นผู้ให้บริการติดตั้งโซลาร์ฟาร์มให้กับบริษัทเอกชน โดยอาศัยความรู้ประสบการณ์ที่เริ่มต้นจากศูนย์ในธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ เริ่มตั้งแต่ให้คำปรึกษา ติดต่อหน่วยงานราชการ การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน ความเสี่ยง และโอกาสในธุรกิจ

ด้วยประสบการณ์ดังกล่าว เมื่อปลายปีที่ผ่านมาบริษัทจัดสัมมนาครั้งใหญ่ภายใต้หัวข้อ "ลงทุนในกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อย่างไรให้เร็วและได้กำไรสูงสุด"

การสัมมนาในครั้งนั้นผู้ประกอบการให้ความสนใจค่อนข้างมาก และมีความต้องการลงทุน แต่ติดปัญหาอุปสรรคในการขอสินเชื่อจากธนาคารที่ยังไม่มีความเข้าใจในธุรกิจนี้อย่างแท้จริง

อย่างไรก็ดี เมื่อปีที่ผ่านมาบริษัทเซ็นสัญญากับบริษัทเอกชน 1 ราย รับจ้างสร้างโซลาร์ฟาร์ม เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า 150 เมกะวัตต์ ภายใน 3 ปี นับว่าเป็นการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่กว่าบริษัทหลายเท่า

การหันมาเป็นผู้รับจ้างผลิตและที่ปรึกษา เป็นการเพิ่มช่องทางขยายธุรกิจ เพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้กับบริษัท จากที่ผ่านมามีรายได้ประมาณ 900 ล้านบาท

ตลาดต่างประเทศเป็นตลาดใหม่ของบริษัท เริ่มดำเนินงานเมื่อปี 2549 บริษัทมองเห็นโอกาสในธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ เพราะประเทศพัฒนาแล้วในยุโรปรัฐบาลจะสนับสนุนรายได้ (adder) ให้ 20 บาท เป็นระยะเวลา 20 ปี มากกว่าที่รัฐบาลไทยให้การสนับสนุนเอกชน

ทำให้บริษัทตัดสินใจตั้งบริษัทในเยอรมนีชื่อบริษัทบางกอก โซลาร์ เพาเวอร์ Gmbh จำกัด เมื่อปีที่ผ่านมาเพื่อบุกตลาด ในยุโรปทำให้บริษัทรับจ้างสร้างโซลาร์ฟาร์มให้ 3 ประเทศคือ เยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า 100 เมกะวัตต์

บริษัทบางกอก โซลาร์ เพาเวอร์ ไม่ได้ดำเนินธุรกิจเพียงลำพัง แต่มีบริษัทในเครือคือ บริษัทบางกอกโซลาร์ จำกัด ช่วยสนับสนุนทำธุรกิจ มีบทบาทหน้าที่ในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ และพัฒนาวิจัยให้มีคุณภาพ

บริษัทบางกอก โซลาร์มีกำลังการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ 1,250,000 แผ่นต่อปี เป็นแผงโซลาร์เซลล์ ชนิดอะมอร์ฟัสซิลิกอนแบบฟิล์มบาง (Amorphous Silicon Thin-Film Module) ที่เหมาะสำหรับสภาพอากาศร้อนชื้นในประเทศไทย เป็นแผงที่รับพลังงานแสงอาทิตย์ได้ตั้งแต่ 6 โมงเช้าจนถึง 6 โมงเย็น

การผลิตแผงโซลาร์เซลล์ชนิดอะมอร์ฟัสซิลิกอน บริษัทเป็นผู้ผลิตเพียงรายเดียวในประเทศไทย แต่ยอมรับว่ายังมีต้นทุนที่สูง หรือราคาแผ่นละ 5 พันบาท ดังนั้นแผงโซลาร์เซลล์ชนิดนี้จึงเหมาะติดตั้งในบริษัท หรือฟาร์มต่างๆ เพื่อผลิตและจำหน่ายไฟฟ้ามากกว่าลงทุนติดตามบ้านต่างๆ

สำหรับบริษัทบางกอก โซลาร์ จำกัด และบริษัทบางกอก โซลาร์ เพาเวอร์ จำกัด อยู่ในเครือบางกอก เคเบิล กรุ๊ป ผู้ผลิตและจำหน่ายสายเคเบิลทองแดง เคเบิลอะลูมิเนียม สายโทรศัพท์

แต่หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายติดตั้งไฟฟ้าในชนบท เรียกว่า ไฟฟ้าเอื้ออาทร หรือ โซลาร์โฮม บริษัทจึงร่วมประมูลภายในนามบริษัทบางกอก โซลาร์ จำกัด และติดตั้ง 2 เฟส เฟสแรกติดตั้ง 25,000 หลังคาเรือน เฟสที่สองติดตั้งอีก 20,000 หลังคาเรือน บริษัทจึงซื้อโรงงานเพื่อผลิตแผงโซลาร์เซลล์ป้อนให้กับโครงการไฟฟ้าเอื้ออาทร จังหวัดฉะเชิงเทรา

บ้านแต่ละหลังจะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการติดตั้งหลังละ 25,000 บาท โดยติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ 3 แผ่นบนหลังคา แผงโซลาร์เซลล์ 1 แผ่นให้พลังงาน 40 วัตต์ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 140 วัตต์ต่อวัน

ผู้ใช้ไฟในบ้านสามารถใช้ไฟได้ประมาณ 4 ชั่วโมงต่อวัน คือใช้ไฟฟ้าได้ 2 หลอด หลอดละ 10 วัตต์ และโทรทัศน์อีก 1 เครื่อง
สมพงศ์ นครศรีประธานกรรมการบริหาร บริษัทบางกอก โซลาร์ จำกัด บอกกับ ผู้จัดการ 360 ํ ว่า หลังจากติดตั้งโซลาร์ โฮมแล้วเสร็จ บริษัทเริ่มออกไปต่างประเทศ ขายไฟฟ้าให้กับบริษัทในเยอรมนี เริ่มจาก 5 เมกะวัตต์ ขยายเป็น 20 เมกะวัตต์

ในขณะที่ขายไฟฟ้าให้กับประเทศเยอรมนี บริษัทเริ่มสร้างโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทย เพื่อขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคควบคู่กันไปด้วย

"หัวใจการทำธุรกิจโซลาร์ฟาร์ม คือเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนธุรกิจ ถ้าทำทั้งสองอย่างนี้ได้ ธุรกิจจึงจะอยู่รอดได้" เป็นคำกล่าวของสมพงศ์ที่เขารู้ดีว่าแม้ว่าธุรกิจนี้จะไปได้ดีในตอนนี้ แต่อนาคตเขายังไม่สามารถตอบได้อย่างเต็มคำ   


พลังงานทางเลือก

     เป็นที่รู้กันแล้วว่าช่วงทศวรรษที่ผ่านมาปริมาณน้ามันสารองของโลกเริ่มลดลง ปัญหาหนักหนาสาหัสที่มนุษย์เรากาลังจะต้องเผชิญ นั่นคือปริมาณการผลิตน้ามันหยุดเพิ่มขึ้นแล้ว M. King Hubbert นักธรณีวิทยาชาวอเมริกันได้คาดการณ์ไว้ว่า ปริมาณน้ามันสารองของโลกน่าจะอยู่ที่ 2.1 ล้านล้านบาร์เรล และปริมาณการผลิตขึ้นถึงจุดสูงสุดในปี 2000 ส่วนปริมาณการผลิตของสหรัฐขึ้นถึงจุดสูงสุดในปี 1970 ปริมาณการผลิตน้ามันในปี 2003 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับปี 1998 หรือเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.6 ต่อปีเท่านั้น จากแนวโน้มเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า หากมนุษย์ยังต้องอาศัยพลังงานในการดารงชีวิต จาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งหาแหล่งพลังงานทดแทนให้ทันท่วงทีกับการหมดไป ของน้ามัน

    พลังงานทดแทนหรือพลังงานที่จะมาเป็นทางเลือกนี้ น่าจะหมายถึงพลังงานที่สะอาด สามารถนามาหมุนเวียนใช้ได้ต่อเนื่องไม่มีวันหมด และยังเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อม ไม่ก่อให้เกิดภาวะมลพิษต่างๆ ต่อโลกด้วย พลังงานทดแทนที่สาคัญก็คือ พลังงานจากแสงอาทิตย์ และพลังงานจากลม ที่ธุรกิจต่างๆ เริ่มเห็นความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม ช่วงนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากมีปัจจัยผลักดันหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ามัน ถ่านหิน ก๊าซ ที่เป็นแหล่งพลังงานในปัจจุบันปรับตัวสูงขึ้นมาก การได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลหลายประเทศในเรื่องของกฎระเบียบและภาษีต่างๆ การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องทาให้ต้นทุนในการพัฒนาแหล่ง พลังงานทางเลือกลดลง อีกทั้งปัญหาทางด้านสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น เช่น ภาวะเรือนกระจกทาให้โลกร้อน ก็เป็นสิ่งที่คนทั่วโลกตระหนักถึงพลังงานที่สะอาดมากขึ้น และเป็นไปได้อย่างยิ่งที่การพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนนี้ จะเป็นอุตสาหกรรมหลักที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในศตวรรษที่ 21 โดยในปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์เติบโตสูงถึง 30% และพลังงานลมเติบโตถึง 37% ทั่วโลก ปัจจุบันเทคโนโลยีผลิตพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมนั้น

   ได้พัฒนาจนกระทั่งทาให้ต้นทุนลดต่าลงมาก จนเริ่มที่จะแข่งขันกับแหล่งพลังงานอื่นๆ ได้แล้ว ต้นทุนผลิตไฟฟ้าของอเมริกาตอนนี้ ที่ราคาของทั้งก๊าซ และถ่านหินปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ประมาณ 5 ถึง 16 เซนต์ต่อชั่วโมงกิโลวัตต์ แต่ตอนนี้การผลิตไฟฟ้าจากลมมีต้นทุนเพียงแค่ 3 ถึง 5 เซนต์ต่อชั่วโมงกิโลวัตต์เท่านั้น แม้ว่าในปัจจุบัน การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ยังมีต้นทุนสูงกว่าพลังงานจากลม 3 ถึง 5 เท่า แต่หากมีการร่วมกันทาการวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจังมากขึ้น พลังงานจากแสงอาทิตย์จะเริ่มมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะแข่งขันได้ประมาณ ตั้งแต่ปี 2010 หรือ 2015 เป็นต้นไป



         การเดินทางไปศึกษาดูงานของนิสิตภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมาหาสารคาม ในระหว่างวันที่ 7-9  ธันวาคม 2553  ฟาร์มโซล่าเซลล์แห่งนี้เป็นแหล่งความรู้ชั้นเยี่ยมอีกแห่งของการดูงานของพวกเรานิสิตชั้นปีที่สาม วันนั้นพอพวกเราเดินทางไปถึงก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี  บุคลา
กรทุกท่านมีความยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นกันเอง  และรวมไปถึงท่านวิทยากร พี่วิศวกร ที่คอยบรรยายให้ความรู้แก่พวกเรา  ดิฉันและเพื่อนรวมทั้งอาจารย์ ได้มีโอกาศเข้ารับฟังการบรรยายและชมบรรยากาศบริเวณภายนอกแผงโซล่าเซลล์ที่ฟาร์มโซล่าเซลล์แห่งนี้และแผนงานต่างๆเป็นความรู้ทางด้านฟิสิกส์มากมายโดยเฉพาะด้านพลังงาน  เหตุทีเราไม่ได้เข้าไปในแผลโซล่าเซลล์ก็เพราะเงาของคนอาจบดบังแสงแดดและทำให้ธุรกิจเกิดความเสียหายเนื่องจากทุกวินาทีที่มีแสงแดดนั่นหมายถึงพลังงานที่ได้และเงินที่ได้นั่นเอง